วิธี "ดูแลสัตว์เลี้ยง" ให้ปลอดภัยจาก "ฝุ่น PM 2.5"

มี “สัตว์เลี้ยง” แสนรักต้องรู้ วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงให้ปลอดภัยจาก “ฝุ่นพิษ” หลังคุณภาพอากาศแย่ “ฝุ่น PM 2.5” กลับมาเกินค่ามาตรฐาน ส่งผลต่อสุขภาพในช่วงสงกรานต์นี้

“ฝุ่น PM 2.5” หรือ “ฝุ่นละอองขนาดเล็ก” กลับมาเกินค่ามาตรฐานอีกครั้ง ไม่เพียงแค่มนุษย์ที่มีโอกาสได้รับผลกระทบจากฝุ่นพิษจิ๋วเหล่านี้ แต่ยังอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของ “สัตว์เลี้ยง” ชนิดต่างๆ ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การดูแลสัตว์เลี้ยงให้ปลอดภัยจาก PM 2.5 มีความแตกต่างกับมนุษย์อยู่บ้าง เนื่องจากสรีระที่แตกต่าง ระบบการทำงานในร่างกาย ดังนั้นจึงต้องดูแลและปกป้องให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์ และพฤติกรรมของสัตว์เลี้ยงแต่ละตัวด้วย

วิธี "ดูแลสัตว์เลี้ยง" ให้ปลอดภัยจาก "ฝุ่น PM 2.5"

สำหรับใครที่กำลังกังวลว่าสัตว์เลี้ยงอาจได้รับฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นพิษต่างๆ ในช่วงที่ต้องเดินทางไกลระหว่างวันหยุดยาวสงกรานต์ “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” สรุป 6 วิธีดูแลสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ที่เชี่ยวชาญเพื่อดูแลสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น ดังนี้

  1. ปรับสิ่งแวดล้อมในบ้าน ทำความสะอาดบ่อยๆ  

ทำความสะอาดบ้านและพื้นที่ที่เลี้ยงสัตว์บ่อยๆ เพื่อลดการสะสมของฝุ่น หรืออาจจะใช้การปลูกต้นไม้เพิ่มบริเวณที่สัตว์เลี้ยงอยู่ เลือกต้นไม้ที่มีคุณสมบัติช่วยฟอกอากาศ และช่วยลดอุณหภูมิ ก็จะมีส่วนช่วยให้อากาศดีขึ้นได้

  1. เลี้ยงสัตว์อยู่ในบ้านที่อากาศปิด 

ในช่วงที่สถานการณ์ฝุ่นยังรุนแรง ไม่นำสัตว์ออกไปในพื้นที่เสี่ยง เลี้ยงสัตว์ในบ้านที่อากาศปิดจะช่วยให้สามารถควบคุมสภาพอากาศได้ดีกว่า

  1. ใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศ 

เครื่องฟอกอากาศเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการปรับคุณภาพอากาศภายในบ้านให้ดีขึ้น

  1. หลีกเลี่ยงการพาสัตว์เลี้ยงไปในพื้นที่เสี่ยง 

ช่วงที่คุณภาพอากาศแย่ เลี่ยงการพาสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่น หรือออกกำลังกายกลางแจ้ง 

  1. คอยสังเกต พฤติกรรมอาการของสัตว์ 

สัตว์แต่ละชนิดมีระบบหายใจต่างกัน และมีการตอบสนองต่อฝุ่นพิษต่างกันด้วย ดังนั้น คนเลี้ยงจึงต้องเฝ้าดูพฤติกรรมของสัตว์ว่าเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เช่น เซื่องซึม ไม่แอคทีฟ เบื่ออาหาร ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากฝุ่นหรือมีปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้สามารถปรึกษาแพทย์ได้ทันท่วงที

  1. ทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง และตรวจร่างกายสัตว์เลี้ยง 

ควรอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายให้สัตว์เลี้ยงบ่อยๆ เพื่อลดโอกาสสะสมของฝุ่นที่อยู่ในตัวหรือขนของสัตว์เลี้ยง ในกรณีที่มีอาการผิดปกติแล้วพาไปพบแพทย์ พบว่ามีอาการอักเสบ สามารถเสริมอาหารที่มีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสัตว์เลี้ยงได้โดยการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างเช่น วิตามินซี วิตามินเอ ซึ่งมีส่วนช่วยลดการอักเสบได้

สำหรับสัตว์ที่กินพืชจะสามารถรับวิตามินซีและเอจากการกินพืชผักผลไม้บางชนิดอยู่แล้ว ส่วนในสัตว์กินเนื้อ ผู้ดูแลสามารถเพิ่มวิตามินเหล่านี้ผ่านผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอื่นๆ ที่มีโอเมก้า 3 หรือโอเมก้า 6 ได้เช่นกัน

ข้อมูลจาก  https://www.bangkokbiznews.com/social/998544

 

ติดตามอ่านต่อได้ที่ megaprinting.net